Traveling treasures: by Patipat Chaiwitesh

27 June - 9 August 2020

Patipat Chaiwitesh is a designer and an artist who developed the definition of textile art through his experimentation with materials. Patipat based his ideas on his concern for the environment, his practices in the contemporary arts, and his creations on design philosophy. The “Traveling treasures“ looks into objects and the way it changes under the circumstance of time.

 

Paper has become the main material within the cultural life cycle of belief. The paper that used are Joss papers as well as Joss paper goods that are often used in ceremonies as well as used to depict the cycle of life — birth, how one lives and our demise. Most of these objects are often used and then broken down. Patipat is interested in the utilisation period of these objects and how they are brought into the next life. With his tongue and cheeke approach to superstitious objects and worldly posessions, Patipat sees this ancestral veneration as a realm of rigid and unshakable belief in East Asia. Burning has long been a common method used to communicate to the deceased family members. The act of burning not only transfers the physicality of these meanings through a physical form but transfers the belief in these meanings as well. Such long history of the burnt offering now opposes environmental concern upon the global warming crisis and pollution issues.

 

Patipat was also a residency artist at Bamboo Curtain Studio, located in Taiwan back in 2019. This has inspired Patipat to reach out to communicate within the realm of belief where fire was used to connect to their decreased. Patipat addresses this series as a healing method, memories, and spirit manifested in this art form.

 

The Contempoary Arts Movement plays a role in raising important subjects and questions even though it may not completely solve the problem at hand. However, it cannot be argued that art is used a method of communication that addresses the notion of existence. The work itself challenges the viewer’s beliefs whilst respecting the difference in opinions.

 

Patipat focuses mostly on sustainability and nowness, he borrows many hand craft techniques to meet the need of communication and pollution concerns. On the path of aesthetic and functions, Patipat suggests a new way to continue the ancestral veneration without burning. This becomes very challenging for Patipat, as an artist and a designer, who works around this cultural hypothesis and always teethering between of sustainability and culture. This work poses the questions that may help future artists and designers who may find themselves at a crossroads between the durability of materials and the fragility of spirituality, between fire and ashes and the sustaibility of our enviornment.

 

The exhibition “Traveling treasures” will be held on the second floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 27 June until 9 August 2020. The official opening ceremony will be held on 27 June 2020, 1:00-7:00PM.

 

Hashtag: #SACPatipat

 


 

ปฏิพัทธิ์ ชัยวิเทศ คือศิลปินนักออกแบบที่ขยายนิยามของการถักทอไปสู่การผสานวัสดุหลายๆ ชนิดเข้าด้วยกัน บนพื้นฐานของการพยายามหาความสอดคล้องต่อความสนใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมๆ กับการออกแบบ และการสร้างสรรค์งานศิลปะ ซึ่งในนิทรรศการ “Traveling treasures“ เราจะได้เห็นมโนทัศน์ของการ “เปลี่ยน” สิ่งของที่เคยเห็นกันอย่างคุ้นชินสู่บทบาทหน้าที่ใหม่อย่างท้าทาย

 

มีของใช้ในพิธีกรรมอย่างกระดาษเงิน กระดาษทอง หรือทรัพย์สมบัติจำลองที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องวัฏจักรของชีวิต การเกิด การดำรงอยู่ และความตาย หลายสิ่งผ่านการผลิต ใช้งานและสูญไป ศิลปินมีความสนใจในวัตถุที่ตั้งคำถามกับชีวิต ภาวะของการดำรงอยู่ระหว่างโลกนี้และโลกหน้า การหยอกล้อความเป็นมงคลของวัตถุ โชคชะตา หรือการเป็นทรัพย์สินมีค่า ปฏิพัทธิ์ได้ใช้เวลาครุ่นคิดถึงวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นในภูมิภาคเอเชีย เกี่ยวกับพื้นที่ภายในความเชื่ออันแข็งแรงที่ดูราวกับจะปรับเปลี่ยนได้ยากยิ่งนี้พิธีการเผาได้กลายเป็นวิธีของการส่งพลังงานผ่านวัตถุสิ่งของเหล่านี้เพื่อเคลื่อนย้ายเปลี่ยนความหมายไปตามความเชื่อ แต่สิ่งนี้กำลังสวนทางกับโลกปัจจุบัน เมื่อความห่วงใยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของผู้คนก็เริ่มมีความสำคัญกับชีวิตมากขึ้นเช่นกัน

 

จากการเป็นศิลปินในพำนักที่ Bamboo Curtain Studio (BCS) ณ ไต้หวัน เมื่อปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ทำให้ปฏิพัทธิ์ครุ่นคิดถึงวัฒนธรรมการสื่อสารกับพื้นที่ทางความเชื่อ หากไฟเคยทำหน้าที่นำพาทรัพย์สมบัติเหล่านี้ไปสู่ผู้รับ นิทรรศการ “Traveling treasures“ ครั้งนี้ ก็ต้องการที่จะเป็นอีกหนึ่งวิธีทางสัญลักษณ์ที่จะส่งผ่านทรัพย์สินให้กับผู้ล่วงลับ เพื่อแทนการเยียวยาความรู้สึก ความทรงจำ จิตวิญญาณของเราผ่านรูปแบบของงานศิลปะ

 

ศิลปะร่วมสมัยในบางแง่มุมจึงมีบทบาทในการตั้งคำถามที่สำคัญ แม้ศิลปะอาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาทางสังคมต่างๆ ได้โดยทางตรง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าศิลปะร่วมสมัยนั้นทำงานด้วยการสื่อสาร และการทดลองเข้าไปมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความเชื่อ และความคิดของผู้ชมด้วยเช่นกัน

 

เมื่อความคิดของศิลปินนักออกแบบเริ่มมุ่งเน้นความยั่งยืนในปัจจุบัน ปฏิพัทธ์หยิบยืมเทคนิคทางหัตถกรรมหลายๆ ชนิด เพื่อทำให้ผลงานตอบโจทย์การสื่อสารและลดมลพิษ บนเส้นทางเดียวกันของสุนทรียภาพและการใช้งาน จุดยืนที่จะสร้างสรรค์วัตถุทางความเชื่อที่ไม่ต้องผ่านพิธีกรรมการเผาไหม้ของปฏิพัทธ์จะเป็นอีกหนึ่งความท้าทายใหม่ของศิลปินนักออกแบบที่ทำงานอยู่บนสมมติฐานของปัญหาบนทางแยกระหว่างความคงทนของวัสดุและภาวะอันเปราะบางของจิตวิญญาณ ระหว่างการเผาไหม้กับความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม

 

นิทรรศการTraveling treasuresจัดแสดงระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน - 9 สิงหาคม พ.. 2563 ณ ชั้น 2 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 27 มิถุนายน .. 2563 ตั้งแต่เวลา 13:00-19:00 .