Monster (คน สัตว์ สิ่งของ)

16 November 2021 - 12 February 2022

"Monster" is an exhibition exploring the extraordinary exotic story stealth mysteriously behind the image of beast, human and artifact to visualize the conflict inside our mind and society including Love, Greed, Wrath and Illusion which combined into fear. Monster exhibition inspired by the Folklore especially the story people keep repeat telling in society, our culture, and legends in which human, mystical creatures and magical artifacts can communicate and interact with each other. The importance of the relationship between humans and what representing human, believes, class, conflicts and myths reveal the nature and the essence of humanity through multitudinous personalities.

 

Using observation of the presentation of the human figure in the form of contemporary art, fusion, modification, mutation and invention of these supernatural personalities as a language often used to interprets social situations, political and also the domination of otherness beyond human body in diverse forms. This “Monster” exhibition will stimulates unearthly perspectives to convey fear and uncertainty atmosphere in society nowadays through artworks from these artists below; Aof Smith, Komkrit Tepthian and Kitikun Mankit who modified and combined human figures with beasts to explain the dreadful situations both in politics and history.

 

Preyawit Nilachulaka, three, Raj Bunnag and Vipoo Srivilasa who inventing exceptional characters which modified the representative of humans with special conditions, to answer the questions in life and emphasize the unlimited desire of humanity.

 

Taiki Sakpisit who use short film to presents the animation and sound which quake the fragility of humanity.

 

When Contemporary tales in our society and the interaction between living creatures and non-living creatures have been communicated through process of art. The difficult situation in the era has been used to fuel the narrative in art and art is also an indicator to show the story of conflicts, believes or fears hidden inside society. When we look deep enough into artworks, we will find out that the common concept which connected and mix humans, beasts and artifacts together is fear. We can usually find that the contemporary art has been influenced by stories or legends, whether it’s a fictional events which maybe not occur yet or occurring now. Art collects those informal stories to express and response to artist’s opinions.

 

When art is the communication and interactions of concepts, these artworks unveil the nature of metamorphosis in the meanings to reflect the appearances of figure as an interesting medium for contemporary art. The story, legend or hidden conversations in society turn out to be supernatural event managed to be reasonable in the form of art. The important of this exhibition is the audience who acts as the recipient aware of the creator’s narratives and experiences together with them. Giving the audiences opportunity not to be only just the observer but also play an important parts in those narratives. We can use Contemporary art as an indicator to tell us that we lived in the same society, the same culture and especially the same species, still questioning this strange weird world altogether.

 

The exhibition “Monster” will be held on the second floor of Art Centre Bldg., SAC Gallery from 16 November 2021 until 12 February 2022. The official opening ceremony will be held on 16 November 2021, 6:00PM onwards.

 

Hashtag: #SACMonster

 


 

“Monster (คน สัตว์ สิ่งของ)” คือนิทรรศการสำรวจเรื่องเล่าอันพิสดารที่ซ้อนทับกันอยู่ในภาพของสัตว์ มนุษย์ และความเป็นวัตถุ เพื่อนำเสนอความขัดแย้งภายในร่างกายและสังคม ทุกเรื่องราวของความรัก โลภ โกรธ หลง ที่รวมตัวกันเป็นความหวาดกลัวชนิดหนึ่ง “Monster (คน สัตว์ สิ่งของ)” ได้แรงบันดาลใจจากแนวคิดเรื่องคติชนวิทยา (Folklore) โดยเฉพาะเรื่องเล่าที่วนเวียนอยู่ในสังคม วัฒนธรรมของเรา ตำนานต่างๆ ที่มนุษย์ สัตว์ และสิ่งของ ล้วนสามารถสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และสิ่งที่ถูกเปรียบกับมนุษย์ ความเชื่อ ชนชั้น ความขัดแย้ง และเรื่องราวตำนานเหนือจริง ที่แผ่ขยายไปสู่ความคิดของผู้คนได้ดั่งโรคระบาดทำหน้าที่เผยธรรมชาติ และแก่นแท้ของความเป็นคนผ่านบุคลิกภาพที่หลากหลายภายใต้นิยามของศิลปะ    

 

เมื่อข้อสังเกตที่มีต่อการนำเสนอร่างกาย (figure) ในรูปแบบผลงานศิลปะร่วมสมัย การผสมผสาน ดัดแปลง การกลาย การสร้างบุคลิกเหนือจริงเหล่านี้ได้เป็นภาษาหนึ่งที่บ่อยครั้งถูกนำมาใช้อธิบายสภาวการณ์ทางสังคม ความเป็นการเมือง รวมไปถึงความเป็นอื่นของร่างกายผ่านรูปแบบที่หลากหลาย นิทรรศการ “Monster (คน สัตว์ สิ่งของ)” ครั้งนี้จะยิ่งตอกย้ำถึงวิธีคิดอันพิสดารที่ถ่ายทอดความหวาดกลัว ความไม่แน่นอน ในบรรยากาศทางสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นผลงานของ Aof Smithคมกฤษ เทพเทียน และ กิติคุณ หมั่นกิจ ที่ได้ดัดแปลงร่างกายมนุษย์ ผสมผสานกับสัตว์เพื่อบอกเล่าสถานการณ์ที่น่าหวาดหวั่น ทั้งในทางประวัติศาสตร์ และการเมือง รวมถึงการสร้างตัวละครผสมผสานสภาวะพิเศษที่ภาพแทนมนุษย์จะได้รับการดัดแปลงในผลงานของ ปรียวิศว์ นิลจุลกะ, threeราช บุนนาค และ วิภู ศรีวิลาศ เพื่อตอบโต้กับคำถามของชีวิต และขับเน้นความต้องการของมนุษย์ที่ดูราวกับจะไม่มีขอบเขต รวมถึงภาพยนตร์สั้นของ ไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์ นำเสนอภาพเคลื่อนไหวและเสียงที่สั่นสะเทือนความเปราะบางของมนุษย์ 

 

เรื่องเล่าร่วมสมัยในสังคมของเรากับการสร้างปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตได้รับการสื่อสารผ่านการทำงานของศิลปะ สถานการณ์ของยุคสมัยเป็นพลังงานชั้นดีให้กับเรื่องเล่าทางศิลปะ และศิลปะก็เป็นสิ่งชี้วัดให้เห็นว่ามีเรื่องราวความขัดแย้ง ความเชื่อ หรือความหวาดกลัว ที่แฝงฝังอยู่ในสังคม ผลงานศิลปะเมื่อมองลึกลงไปถึงเรื่องราวที่ซ่อนเอาไว้ เราจะพบว่าความหวาดกลัวมักจะเป็นจุดร่วมที่ทำให้เกิดภาพของมนุษย์ สัตว์ สิ่งของ ปนเปกันอย่างมีนัยยะสำคัญ เรื่องเล่าหรือตำนานที่ขับเคลื่อนศิลปะร่วมสมัยจึงพบได้บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์สมมติที่อาจจะยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง หรือกำลังดำเนินอยู่ ศิลปะรวบรวมเรื่องเล่าอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อแสดงความคิดเห็นตอบสนองกับความคิดของศิลปิน

 

เมื่อศิลปะคือการสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์กันเชิงสัญลักษณ์ ผลงานเหล่านี้ล้วนเผยให้เห็นธรรมชาติของการเล่นแร่แปรธาตุในทางภาษาเพื่อสะท้อนการปรากฏร่างกายในฐานะสื่อกลาง (medium) ที่น่าสนใจในงานศิลปะร่วมสมัย เรื่องเล่า ตำนาน หรือสิ่งที่พูดคุยกันอย่างลับๆ ในทางสังคมได้กลายเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติที่ถูกจัดการให้สมเหตุสมผลในรูปแบบของศิลปะ สิ่งสำคัญคือผู้ชมที่อยู่ในฐานะผู้รับสารซึ่งมีประสบการณ์ หรือการรับรู้ร่วมไปกับเรื่องเล่าของศิลปิน ทำให้ผู้ชมไม่ได้เป็นเพียงผู้เฝ้ามอง แต่ได้ถูกเลือกให้ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเรื่องเล่าเหล่านั้น ศิลปะร่วมสมัยจึงเรียกได้ว่าเป็นสิ่งชี้วัดว่าเราต่างอยู่ในสังคม วัฒนธรรมเดียวกัน โดยเฉพาะการเป็นสิ่งมีชีวิตรูปแบบเดียวกันที่ยังคงมีคำถามต่อโลกที่บิดเบี้ยวใบนี้เช่นกัน

 

นิทรรศการ “Monster (คน สัตว์ สิ่งของ)” จัดแสดงระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 12 กุมภาพันธ์ .. 2565 ณ ชั้น 2 อาคารหอศิลป์ (ตึกใหญ่) เอส เอ ซี แกลเลอรี (SAC Gallery) โดยมีพิธีเปิดนิทรรศการในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เวลา 18:00 . เป็นต้นไป